ข้อมูลสถานศึกษา
ตราสัญลักษณ์ประจำสถาบัน
ตราสัญลักษณ์ประจำสถาบัน
ความหมาย
ตัวแรกศิลปแบบจีนไต้หวัน ตัวที่สองศิลปแบบไทย ตัวที่สามศิลปแบบสากล อันหมายถึงความร่วมมือทางการศึกษานานาชาติเพื่อพัฒนาที่ก้าวไกล
สีประจำสถาบัน
พื้นสีเหลืองทอง คือ ความสมาน สามัคคี เป็นมิตร มีไมตรีกับทุกคนในสังคม ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนาคน และสังคม ประเทศชาติ
พื้นสีน้ำเงิน คือ ตัวแทนของการยึดมั่นในสถาบันองค์พระมหากษัตริย์ที่เป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของปวงชนชาวไทย
สีขาว คือความรักในความบริสุทธิ์ ยุติธรรม โดยปราศจากอคติ
ตัวเฟืองทอง คือความรุ่งเรือง ก้าวหน้า พัฒนางานอาชีวให้เจริญรุ่งเรืองตลอดไป
สีเลือดหมู คือ สีแห่งสายโลหิต เหล่าลูกพระวิษณุกรรม และสืบสานงานอาชีพด้านทั้งหลาย
ตัวอักษรภายในเฟือง คือ สัญลักษณ์แห่งความร่วมมือระหว่างชาติ
ประวัติความเป็นมา
บริษัท B.D.I โดยการนำของคุณสุธรรม จางขจรศักดิ์ (ประธานผู้ก่อตั้งวิทยาลัยฯ) ผู้ซึ่งได้เข้ามาดำเนินการธุรกิจในประเทศไทยและประสบความสำเร็จอย่างสูง ได้เห็นคุณค่า ของแรงงานไทย ตลอดจนคนไทยและแผ่นดินไทยที่ได้ทำให้ ชาวไต้หวันได้มีโอกาสมา ประกอบอาชีพจนเจริญก้าวหน้า เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณของประเทศ ประธานกรรมการบริษัท B.D.I คุณสุธรรม จางขจรศักดิ์และคณะ จึงได้พิจารณาที่จะจัดตั้งโรงเรียนฝึกอาชีพในระบบ โรงเรียน-โรงงาน (ทวิภาคี) เพื่อดำเนินการจัดการเรียนการสอน และเป็นศูนย์ฝึกอบรมแรงงานไทย ที่เดินทางไปทำงานยังประเทศไต้หวันให้มีศักยภาพสูงสุดขึ้น อีกทั้งเพื่อพัฒนาฝีกอบรมให้แก่บุคลากร ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน ของท่านให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะการทำงานสูงขึ้น การจัดตั้งโรงเรียนอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคี (Dual Vocational Training) ของวิทยาลัยเทคโนโลยีไทย-ไต้หวัน (บีดีไอ) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกลุ่มบริษัทที่ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม ในประเทศไทยมากกว่า 100 แห่งดำเนินการภายใต้การนำของกลุ่มบริษัทกรุงเทพ ไดแคสซ์ติ่ง แอนด์อินแจ็กชัน จำกัด (B.D.I Group) ร่วมกับมหาวิทยาลัยไทเปเทคโนโลยี ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก คือ
1. จัดตั้งสถานศึกษา เพื่อผลิตช่างฝีมือ ช่างเทคนิค ระดับ ปวช. และปวส. ให้มีความรู้ความสามารถตรงตามที่ตลาดแรงงานอุตสาหกรรมต้องการ
2. เป็นศูนย์ฝึกอบรม เพื่อพัฒนาและยกระดับช่างฝีมือที่อยู่ในโรงเรียนอุตสาหกรรมหรือผู้ที่สนใจที่ต้องการพัฒนาระดับฝีมือให้สูงขึ้นโดยรับการฝึกอบรมทั้งภาครัฐและเอกชนที่สนใจ
3. ฝึกอบรมเตรียมบุคลากรช่างฝีมือ ช่างเทคนิค ก่อนไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมทั้งภายใน และนอกประเทศ
BDI Group : ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อส่งจำหน่ายทั่วโลก โดยกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัยและใช้ระบบควบคุมการผลิตที่มีประสิทธิภาพ มีการใช้งานหุ่นยนต์ (Robot) ในกระบวนการผลิต ผู้เรียนระดับปวช. ปวส. และ ปริญญาตรี ต้องเรียนรู้กระบวนการผลิตโดยใช้เทคโนโลยี BDI
วิทยาลัยฯ มีนวัตกรรมการเรียนรู้การสอน T-TECH Model ที่เน้นพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญใช้การเรียนรู้ แบบ Learning by doing, Project Based Learning, Work Based Learning เรียนรู้ทฤษฎีควบคู่กับการลงมือปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
วิทยาลัยเทคโนโลยีไทย-ไต้หวัน (บีดีไอ)
วิทยาลัยเทคโนโลยีไทย-ไต้หวัน (บีดีไอ) เป็นสถานศึกษาที่มุ้งเน้นการเรียนแบบ Project Based Learning, Work Based Learning และ Learning By Doing โดยเรียนทฤษฎีควบคู่กับการเรียนปฏิบัติงานเพื่อให้นักเรียนได้ประสบการณ์ตรง โดยมีบริษัทชั้นนำของประเทศเข้าร่วมจัดแผนการเรียนรู้ การสอนในระบบทวิภาคี และจัดการเรียนการสอนเฉพาะเจ้าของสถานประกอบการและพนักงานสามารถเทียบโอนประสบการณ์ในแต่ละรายวิชาจนจบหลักสูตร
ในปี 2556 ทางวิทยาลัยฯ จัดการศึกษาเพื่อผลิตบุคคลากรวิศวกรสายปฏิบัติ โดยเน้นงานนวัตกรรม เทคโนโลยี BDI มีโครงสร้างจัดการเรียนการศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และขยายการศึกษาในระดับปริญญาเอกในปี 2558 โดยมีความร่วมมือกับ Minghsin University of Science and Technology ประเทศไต้หวัน ซึ่งวิทยาลัยฯ มีคณาจารย์ มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศเป็นผู้ให้การศึกษากับนักเรียนทุกคนทางด้านทฤษฎีและด้านปฏิบัติมีทีมคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญจาก BDI Group รวมทั้งสถานประกอบการชั้นนำของประเทศ ทั้งนี้วิทยาลัยฯ ยังมีศูนย์ฝึกอบรมการผลิตหุ่นยนต์ (Robot) ทั้งในรูปแบบการแข่งขันระดับนานาชาติและหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม
ปรัชญา (Philosophy)
"ฝีมือเด่น เน้นคุณธรรม นำวิชาการ เชี่ยวชาญเทคโนโลยี"
“Empowering Highly Skilled Technical Expertise-based on Morale and Technology”
วิสัยทัศน์ (Vision) = T-TECH B D I
มุ่งมั่น พัฒนาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ด้วยการจัดการธุรกิจ เน้นสมรรถนะวิชาชีพและนวัตกรรม
T = TEAMWORK
T = Technology
E = Empowerment
C = Competency
H = Honor
B = Business Mindset
D = Dual Vocational Training
I = Innovation
อัตลักษณ์ (Identity)
สุภาพบุรุษ BDI (BDI Gentlemen) โดยนักเรียนนักศึกษามีคุณลักษณะภาวะผู้นำ (Leadership) ดังนี้
- มีความกตัญญู (Grateful)
- มีความรับผิดชอบ (Responsibility)
- มีวินัย (Discipline)
- มีน้ำใจต่อกัน (Generous)
- มีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations)
- มีความตรงต่อเวลา (Punctual)
- มีความอดทน (Patient)
- มีความซื่อสัตย์ (Honesty)
- ทำงานเป็นทีม (Teamwork)