ศูนย์เทคโนโลยีแม่พิมพ์
บริษัทกรุงเทพ ไดแคสซ์ติ่ง แอนด์ อินแจ๊กชัน จำกัด
วิทยาลัยเทคโนโลยีไทย-ไต้หวัน (บีดีไอ)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
MOLD-TECH Learning Center
โครงการความร่วมมือการจัดการเรียนการสอนและวิจัยแบบบูรณาการกับการทำงาน (Work-integrated Learning: WiL) "โครงการศูนย์เทคโนโลยีแม่พิมพ์" มุ่งมั่นให้บริการทางวิชาการ การฝึกอบรม สร้างสรรค์โครงการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาครู บุคลากร นักเรียนและนักศึกษาให้มีความรู้ ทักษะ วัฒนธรรมองค์กร และประสบการณ์จริงในภาคอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
ประวัติความเป็นมา "วิทยาลัยเทคโนโลยีไทย-ไต้หวัน (บีดีไอ)"
วิทยาลัยเทคโนโลยีไทย-ไต้หวัน (บีดีไอ) โดยการนำของคุณสุธรรม จางขจรศักดิ์ (ประธานผู้ก่อตั้งวิทยาลัย) ผู้ซึ่งได้เข้ามาดำเนินการธุรกิจในประเทศไทยและประสบความสำเร็จอย่างสูง ได้เห็นคุณค่าของแรงงานไทย ตลอดจนคนไทยและแผ่นดินไทยที่ได้ทำให้ชาวไต้หวันได้มีโอกาสมาประกอบอาชีพจนเจริญก้าวหน้า เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณของประเทศ ประธานกรรมการบริษัท B.D.I คุณสุธรรม จางขจรศักดิ์และคณะ จึงได้พิจารณาที่จะจัดตั้งโรงเรียนฝึกอาชีพในระบบ โรงเรียน-โรงงาน (ทวิภาคี) เพื่อดำเนินการจัดการเรียนการสอน และเป็นศูนย์ฝึกอบรมแรงงานไทยที่เดินทางไปยังประเทศไต้หวันให้มีศักยภาพสูงขึ้น อีกทั้งเพื่อพัฒนาฝึกอบรมให้แก่บุคลากร ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานของท่านให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะการทำงานสูงขึ้น การจัดตั้งโรงเรียนอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคี (Dual Vocational Training) ของวิทยาลัยเทคโนโลยีไทย-ไต้หวัน (บีดีไอ) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกลุ่มบริษัทกรุงเทพ ไดแคสซ์ติ่ง แอนด์ อินแจ๊กชัน จำกัด (B.D.I Group)
วัตถุประสงค์หลัก
- จัดตั้งสถานศึกษาเพื่อผลิตช่างฝีมือ ช่างเทคนิค ระดับ ปวช. และ ปวส. ให้มีความรู้ความสามารถตรงตามที่ตลาดแรงงานอุตสาหกรรมต้องการ
- เป็นศูนย์ฝึกอบรม เพื่อพัฒนาและยกระดับช่างฝีมือที่อยู่ในโรงเรียนอุตสาหกรรมหรือผู้ที่สนใจที่ต้องการพัฒนาระดับฝีมือให้สูงขึ้นโดยรับการฝึกอบรมทั้งภาครัฐและเอกชนที่สนใจ
- ฝึกอบรมเตรียมบุคลากรช่างฝีมือ ช่างเทคนิค ก่อนไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมทั้งภายใน และภายนอกประเทศ
ประวัติความเป็นมา "ศูนย์เทคโนโลยีแม่พิมพ์"
โครงกาารความร่วมมือการจัดการเรียนการสอนและวิจัยแบบบูรณาการกับการทำงาน (Work-integrated Learning: WiL) "โครงการศูนย์เทคโนโลยีแม่พิมพ์" เป็นโครงการที่มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยที่เปิดโอกาสให้อาจารย์และนักศึกษาได้ไปปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการควบคู่กับการเรียนการสอนในห้องเรียนและงานวิจัยอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์จริงภายใต้การแนะนำจากผู้ที่มีประสบการณ์ และยังเป็นการฝึกให้อาจารย์และนักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรและระบบการทำงานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งไม่สามารถหาได้ในห้องเรียนหรือห้องทดลอง และส่งผลให้อาจารย์และนักศึกษามีการพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม
ปรัชญา
มุ่งมั่นให้บริการทางวิชาการ การฝึกอบรม สร้างสรรค์โครงการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาครู บุคลากร นักเรียนและนักศึกษาให้มีความรู้ ทักษะ วัฒนธรรมองค์กร และประสบการณ์จริงในภาคอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
วิสัยทัศน์
มุ่งสู่ความเป็นเลิศและการยอมรับในความเป็นผู้นำด้านการผลิตครู บุคลากร นักเรียนและนักศึกษาที่มีความรู้ ทักษะ วัฒนธรรมองค์กร และประสบการณ์จริงในภาคอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
พันธกิจ
- การวิจัยและพัฒนาร่วมกับสถานประกอบการ
- การให้คำปรึกษา และบริการทางวิชาการ
- การถ่ายทอดเทคโนโลยี การฝึกอบรมและสัมนา
- เผยแพร่เอกสารสิ่งพิพ์ เช่น งานวิจัยและพัฒนาคู่มือการทำงานในโรงงาน
- การสนับสนุนการผลิตครู บุคลากร นักเรียนและนักศึกษา ระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต